การพิมพ์เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ปรากฎอยู่บนผนังถ้ำลาสควักซ์ ในฝรั่งเศส และถ้ำอัลตามิรา ในสเปน แต่สำหรับการพิมพ์ในประเทศไทย หลักฐานที่ค้นพบน่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในช่วงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แม้ว่าประเทศไทยจะอยู่ใกล้กับ ประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของการพิมพ์ก่อนส่วนใด ๆ ของโลก แต่ประเทศไทยกลับได้รับอิทธิพลของการพิมพ์จากชาวยุโรป ซึ่งในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปดูประวัติการพิมพ์ของไทยกันค่ะ

ประวัติการพิมพ์ของไทย

ในอดีตไทยใช้การเขียนบันทึกความรู้ต่าง ๆ ลงในใบลาน เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐาน และองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดกันระหว่างรุ่นสู่รุ่น เทคโนโลยีเกี่ยวกับการพิมพ์ น่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่ปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งถือว่าเป็นยุคหนึ่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีที่มีชาวต่างชาติเข้ามาใช้ชีวิตในสยามมากมาย ทั้งจีน แขก และฝรั่ง โดยหนังสือในรูปแบบของการพิมพ์ตัวอักษรมาพร้อมกับหมอสอนศาสนาชาวต่างชาติที่มีเป้าประสงค์หลักคือการเข้ามาเผยแพร่ศาสนาในภูมิภาคนี้

การพิมพ์ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ปี พ.ศ. 2205 บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ชื่อ หลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) หนึ่งในคณะมิชชันนารีคาทอลิกฝรั่งเศสได้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในประเทศไทย เพื่อพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์ จำนวน 26 เล่ม หนังสือไวยากรณ์ไทย และบาลี 1 เล่ม และพจนานุกรมไทยอีก 1 เล่ม ที่เป็นภาษาไทยแต่พิมพ์ด้วยตัวอักษรโรมัน

ปี พ.ศ. 2229 สมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งคณะทูตนำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ไปเจริญสัมพันธไมตรียังประเทศฝรั่งเศส จึงได้มีโอกาสศึกษางานที่โรงพิมพ์หลวงของฝรั่งเศส และได้นำกลับมาพัฒนาการพิมพ์ในเมืองไทย แต่ก็ได้หยุดพัฒนาไปในสมัยสมเด็จพระเพทราชา

ปี พ.ศ. 2339 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีบาทหลวงฝรั่งเศสในคริสต์ศาสนา นำเครื่องพิมพ์มาจัดพิมพ์หนังสือขึ้นที่ธนบุรี เป็นหนังสือที่ใช้ตัวพิมพ์อักษรโรมันเรียงพิมพ์เป็นภาษาไทย ชื่อหนังสือ คือ “คำสอน คริสตัง ภาคต้น” เป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ในเมืองไทยเก่าแก่ที่สุด ที่ยังมีเล่มหนังสือเหลือให้เห็นอยู่

ปี พ.ศ. 2356 บาทหลวงชื่อ ศาสนาจารย์ แอดดอไนราม จัดสัน (Reverend Adoniram Judson) และภรรยาของเค้า มิชชันนารีชาวอเมริกันคู่สังกัดคณะ A.B.C.F.M. (American Board of Commisioners for Foreign Missions) เดินทางมายังพม่าเพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนา และได้ทำงานร่วมกับมิชชันนารีคณะแบปติสต์ (Baptist) ภายหลังทั้งคู่ได้ย้ายจากสังกัดคณะ A.B.C.F.M. มาเป็นคณะแบปติสต์ Ms.Judson ได้พบเชลยคนไทย และลูกหลานคนไทยที่ถูกกวาดต้อนมา เมื่อกรุงศรีแตกครั้งที่ 2 นางจึงได้ศึกษาภาษาไทย และหนังสือภาษาไทย ทำให้ได้แปลคำสอนของ บาทหลวง Judson และพระคัมภีร์แมทธิวที่เป็นภาษาไทย พร้อมกับได้ออกแบบตัวพิมพ์อักษรไทยขึ้

ปี พ.ศ. 2359 คณะ Baptist ส่ง นายยอร์จ เอ็ช. ฮัฟ (George H. Hough) ให้นำแท่นพิมพ์มาตั้งโรงพิมพ์ Baptist ในพม่า

ปี พ.ศ. 2360 Mr.Hough ได้พิมพ์หนังสือจากตัวพิมพ์ที่ออกแบบโดย Ms.Judson ถือว่าเป็นการพิมพ์ตัวหนังสือภาษาไทยจากตัวพิมพ์เป็นครั้งแรก ซึ่งการพิมพ์นี้พิมพ์ที่เมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า

ปี พ.ศ. 2362 พม่าเกิดสงครามกับอังกฤษ คณะ Baptist จึงย้ายมาอยู่ที่ นครกัลกัตตา ประเทศอินเดีย โดยได้นำตัวพิมพ์อักษรไทยไปด้วย

ปี พ.ศ. 2371 มีการจัดพิมพ์หนังสือเป็นตัวอักษรไทย ชื่อ ตำราไวยากรณ์ไทย (A Grammar of The Thai or Siamese Language) พิมพ์ที่ The Baptist Mission Press นครกัลกัตตา แต่งโดย กัปตันเจมส์โลว์ (Captain James Low) เป็นนายทหารอังกฤษ

ปี พ.ศ. 2373 โรเบิร์ต เบิร์น (Robert Bern) มิชชันนารีคณะลอนดอน ขอซื้อแท่นพิมพ์ และตัวพิมพ์ภาษาไทย จากโรงพิมพ์คณะแบปติสต์ มาติดตั้งดำเนินการอยู่ที่สิงคโปร์ และได้รับงานตีพิมพ์คำสอนของพวกมิชชันนารีอเมริกันที่อยู่ในกรุงเทพฯ เวลานั้นไปจ้างให้ พิมพ์ด้วย

ปี พ.ศ. 2375 โรเบิร์ต เบิร์น (Robert Bern) ถึงแก่กรรม โรงพิมพ์ขายแท่นพิมพ์ และตัวพิมพ์ภาษาไทยให้กับมิชชันนารีคณะอเมริกันบอร์ด

การพิมพ์ในช่วงนายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ 

ปี พ.ศ. 2378 นายแพทย์แดน บีช บรัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) หรือหมอบรัดเลย์ และคนไทยมักเรียกว่าหมอปลัดเล เป็นมิชชันนารีชาวอเมริกัน ได้รับมอบแท่นพิมพ์ และตัวพิมพ์ภาษาไทยจากคณะอเมริกันบอร์ด โดยขนย้ายมาจากสิงคโปร์มายังกรุงเทพฯ

ปี พ.ศ. 2379 หมอบรัดเลย์ และหมอโรบินสันร่วมมือจัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยเรื่อง บัญญัติ 10 ประการ พร้อมคำนำ คำอธิบายคำอธิฐานสั้น ๆ และเพลงสรรเสริญ 3 บท ขนาด 8 หน้ายก จำนวน 1,000 เล่ม ซึ่งเป็นหนังสือชุดเล่มแรกในสยามที่เป็นภาษาไทย

การพิมพ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปี พ.ศ. 2382 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จ้างโรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์ พิมพ์พระบรมราชโองการ ประกาศเรื่อง ห้ามสูบฝิ่น และค้าฝิ่น เป็นใบปลิวจำนวน 9,000 ฉบับ

ปี พ.ศ. 2384 หมอบรัดเลย์ได้วานให้ช่างพิมพ์ที่เข้ามาช่วยจากสิงคโปร์ชื่อ วิลเลี่ยม ประดิษฐ์ตัวพิมพ์ภาษาไทยชุดใหม่ขึ้นมา

ปี พ.ศ. 2385 การประดิษฐ์ตัวพิมพ์ภาษาไทยชุดใหม่เสร็จ และหมอบรัดเลย์ได้นำไปถวายเจ้าฟ้ามงกุฎที่วัดบวรนิเวศ 1 ชุด พร้อมตัวพิมพ์ภาษาอังกฤษ 1 ชุด โดยพิมพ์หนังสือเล่มแรก “คัมภีร์ครรภ์ทรักษา” และพิมพ์ “ปฏิทินตามสุริยคติ” ต้นกำเนิดการพิมพ์ปฏิทินในเมืองไทย

ปี พ.ศ. 2387 หมอบรัดเลย์ได้ตีพิมพ์ The Bangkok Recorder (หนังสือจดหมายเหตุ) เพื่อเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ ความคิด เป็นปากเสียงแทนราษฎร ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล (ราชธิปไตย) ในระยะแรกเริ่มออกฉบับรายเดือน ต่อมาเปลี่ยนเป็นรายปักษ์หรือรายครึ่งเดือน

ปี พ.ศ. 2404 หมอบรัดเลย์ซื้อลิขสิทธิ์พิมพ์หนังสือ “นิราศลอนดอน” ของหม่อมราโชทัย พิมพ์สามก๊ก, หนังสือจินดามณี, พงศาวดารไทย

การพิมพ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปี พ.ศ. 2435 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เริ่มมีการก่อตั้งโรงงานผลิตกระดาษในเชิงอุตสาหกรรมขึ้น กิจการโรงพิมพ์ได้เจริญเติบโต และมีการเปิดโรงพิมพ์เพิ่มมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน

สรุป

ประวัติการพิมพ์ของไทยเริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในปี พ.ศ. 2205 บาทหลวงชาวฝรั่งเศส ชื่อ หลุยส์ ลาโน (Louis Laneau) หนึ่งในคณะมิชชันนารีคาทอลิกฝรั่งเศสได้ตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกขึ้นในประเทศไทย เพื่อพิมพ์คำสอนศาสนาคริสต์ และหลังจากนั้นก็ค่อย ๆ พัฒนาด้านการพิมพ์ไปเรื่อย ๆ จนในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี พ.ศ. 2435 เริ่มมีการก่อตั้งโรงงานผลิตกระดาษในเชิงอุตสาหกรรมขึ้น และมีการเปิดโรงพิมพ์เพิ่มมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน

สำหรับท่านใดที่สนใจอยากพิมพ์งานพิมพ์ต่าง ๆ สามารถติดต่อ บริษัท เอ็ม.ไอ.ดับบลิว.กรุ๊ป จำกัด ของเราได้เลยค่ะ เรายินดีให้บริการออกแบบและรับผลิตงานพิมพ์ต่าง ๆ ทุกรูปแบบ ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น นามบัตร ใบปลิว คูปอง การ์ดเชิญ เมนู ปฏิทิน หนังสือ บรรจุภัณฑ์ ฯลฯ โดยไม่จำกัดจำนวนขั้นต่ำ เราพร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำ และให้บริการงานพิมพ์คุณภาพด้วยเครื่องพิมพ์มาตรฐานระดับโลก สีสวย คมชัด ไม่ซีดจาง ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัย พร้อมด้วยบริการที่รวดเร็วและตรงต่อเวลา

เกี่ยวกับ MIW Group
บริษัท เอ็ม.ไอ.ดับบลิว. กรุ๊ป จำกัด รับผลิตสื่อ สิ่งพิมพ์ครบวงจรทั้ง Digital & Offset ด้วยคุณภาพที่ได้รับมาตรฐานระดับเหรียญทอง ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานมากกว่า 28 ปี ซึ่งเรายังคงมุ่งมั่นพัฒนาทักษะด้านการพิมพ์ และรักษามาตรฐานมาโดยตลอด มั่นใจได้ว่าเรามีความพร้อมในการผลิตงานพิมพ์ที่มีคุณภาพส่งมอบให้กับลูกค้าอย่างแน่นอน