การทำหนังสือ 1 เล่ม สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ ไม่ว่าจะเขียนหนังสือนิยาย หนังสือการ์ตูน หรือหนังสืออื่น ๆ บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นอย่างไร และมีขั้นตอนอะไรบ้าง ถึงจะออกมาเป็นหนังสือ 1 เล่มได้ ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกคนไปดูว่า กว่าจะเป็นหนังสือ 1 เล่ม ต้องทำอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
1. การทำต้นฉบับ ซึ่งเป็นผลงานของนักเขียน ที่ระยะเวลาของต้นฉบับไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับความสุนทรี ความอิสระ และความมุมานะของตัวนักเขียนเอง โดยขั้นตอนการเขียนต้นฉบับ ประกอบด้วย โครงเรื่อง เป็นหัวใจหลักของงานทุกชนิด เพื่อกำหนดจุดเริ่มต้นไปจนถึงจุดหมาย แต่นักเขียนส่วนใหญ่จะมีเนื้อเรื่องอยู่ในหัวหมดแล้ว วิธีการก็คือเขียนออกมาแบบคร่าว ๆ ให้พอรู้ว่าประมาณไหน ต่อมาการเขียนเนื้อเรื่อง คือการเอาโครงเรื่องที่มีอยู่มาเพิ่มเติมให้กลายเป็นนิยายที่มีความสมบูรณ์
2. การ Re Write โดยนักเขียน คือ หลังจากพิมพ์ที่ทุกอย่างเสร็จแล้ว ก็กลับไปอ่านเรื่องที่เขียนไปตั้งแต่หน้าแรกจนถึงหน้าสุดท้าย เพื่อหาดูว่ามีข้อผิดพลาดอะไรบ้าง เช่น สำนวน การสะกด วรรคตอน ย่อหน้า เป็นต้น เมื่อรู้ว่ามีข้อผิดพลาดตรงไหนบ้างก็ค่อย ๆ แก้ไข แต่การ Re Write รอบเดียวอาจจะไม่ครบถ้วน ดังนั้นจึงควรอ่านอย่างน้อย 3-5 รอบ จะได้ไม่มีข้อผิดพลาดอีก
3. ส่งงานให้บรรณาธิการ ซึ่งบรรณาธิการ คือผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสอบต้นฉบับของนักเขียน โดยจะทำหน้าที่แก้ไข แนะนำสิ่งที่สมควรต่าง ๆ จากนั้นต้นฉบับที่ถูกแก้ไขแล้วจะถูกปริ้นท์ใส่กระดาษ A4 เพื่อส่งกลับมาที่นักเขียนอีกครั้ง โดยระยะเวลาที่บรรณาธิการตรวจสอบประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่สำหรับนักเขียนที่ส่งครั้ง ที่ไม่มีต้นสังกัด การพิจารณาต้นฉบับจะใช้เวลาตั้งแต่ 1 สัปดาห์ – 6 เดือนขึ้นไป
4. การ Edit โดยนักเขียน ซึ่งกระบวนการนี้ต้นฉบับของนักเขียนจะเหลือข้อผิดพลาดน้อยมาก นักเขียนจะได้ต้นฉบับมาดูอีกครั้งเพื่อตรวจว่ามีอะไรตกหล่นหรือไม่ และตรงนี้บรรณาธิการส่วนใหญ่จะแจ้งมาว่า ขอแก้ตรงนี้ ขอแนะนำตรงนี้ มีข้อสงสัยตรงนี้ นักเขียนก็ปรับตามความเหมาะสม นอกจากการตรวจตรา และแก้ไขแล้ว นักเขียนยังสามารถเพิ่มเติมความสมบูรณ์ของเนื้อเรื่องได้ โดยใช้ระยะเวลาตรงส่วนนี้มากกว่า 1 สัปดาห์
5. ส่งกลับไปให้บรรณาธิการ เพื่อให้บรรณาธิการตรวจดูสิ่งที่เราแก้ไขอีกครั้ง ว่าถูกต้องหรือต้องแก้ไขอะไรเพิ่มเติมอีกหรือเปล่า
6. ส่งกลับไปยังนักเขียน การส่งกลับไปยังนักเขียนครั้งนี้ เพื่อเป็นตรวจสอบความถูกต้องครั้งสุดท้าย ซึ่งจะไม่ค่อยมีการแก้ไขอะไรแล้ว โดยผลงานจะสมบูรณ์ไปแล้ว 95% ดังนั้นนักเขียนแค่ตรวจดูความละเอียดของเนื้อเรื่องเท่านั้น เมื่อตรวจเสร็จก็ส่งต้นฉบับกลับไปที่บรรณาธิการ ก็จะกลายเป็น ต้นฉบับ 100%
7. การจัดหน้ากระดาษ คือ หลังจากที่ ต้นฉบับ A4 ถูกตรวจสอบครบถ้วนแล้ว จะมีทีมงานฝ่ายบรรณาธิการต้องทำหน้าที่จัดการกับหน้ากระดาษให้ออกมาเป็นแบบ A5 ซึ่งก็คือขนาดมาตรฐานของพ็อกเก็ตบุ๊คทั่วไป ตรงนี้จะมีการกำหนดรูปแบบของหนังสือด้วยว่า ขอบบน ขอบล่าง ด้านข้างทั้งสอง เว้นเท่าไหร่ ? ตัวหนังสือแบบไหน ? ไซส์อะไร ? ขนาดช่องไฟ ช่องว่างการเว้นบรรทัดเท่าไหร่ ? การย่อหน้าเท่าไหร่ ? หลังจากจัดหน้ากระดาษแล้ว ส่วนมากนักเขียนจะได้ดูอีกรอบ เพื่อตรวจว่าเขาจัดการถูกต้องไหม ? แล้วแก้ไขส่งกลับไป
8. การยิงแผ่นเพลท หลังจากที่จัดหน้ากระดาษเสร็จสิ้นสมบูรณ์ จะยิงทุกสิ่งทุกอย่างที่จัดไว้ลงในแผ่นเพลท ซึ่งเพลทจะมีลักษณะเหมือนแผ่นใสแต่หนากว่า และแผ่นเพลทตัวนี้จะไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว ดังนั้นจะนำไปใช้เพื่อการพิมพ์รูปเล่มต่อไป
9. การเข้ารูปเล่ม คือขั้นตอนหลังจากที่ต้นฉบับถูกพิมพ์เพลทออกมาเรียบร้อยแล้ว ก็จะเอาต้นฉบับพวกนี้ไปเข้ารูปเล่มแบบไสกาว หรือ เข้ารูปเล่มแบบเย็บกี่ ซึ่งเป็นการเย็บที่ทนทานมาก และจะคงสภาพหนังสือไว้ได้ค่อนข้างนาน และเมื่อเข้ารูปเล่มเสร็จแล้ว ต้นฉบับของนักเขียนก็จะกลายเป็นผลงานในที่สุด
ทั้งหมดนี้ก็เป็นขั้นตอนที่นักเขียนจะทำหนังสือออกมา 1 เล่ม ซึ่งแต่ละขั้นตอนก็ต้องใช้เวลาไม่น้อย กว่าหนังสือจะออกมาสมบูรณ์ได้ค่ะ และสำหรับนักเขียนท่านใดที่อยากทำหนังสือตัวอย่าง หรือ demo เพื่อเสนอ บริษัท เอ็ม.ไอ.ดับบลิว.กรุ๊ป จำกัด ขอเป็นตัวเลือกหนึ่งของท่านค่ะ
เรายินดีให้บริการออกแบบและรับพิมพ์หนังสือทุกรูปแบบ โดยไม่จำกัดจำนวนขั้นต่ำ 1 เล่มก็สามารถพิมพ์ได้ เราพร้อมให้คำปรึกษาและคำแนะนำ และให้บริการงานพิมพ์คุณภาพด้วยเครื่องพิมพ์มาตรฐานระดับโลก สีสันสวยสด คมชัด ไม่ซีดจาง ด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัย เรามีทีมงานมากประสบการณ์พร้อมด้วยการบริการที่รวดเร็วและตรงต่อเวลา